Friday, December 30, 2011

แบ่งปันสรรสาระและความรู้จากสมาชิกชาวพญาไทวิลเลจ : Prachid Tutorials : Design Direction บันทึกการสอนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ตอน หลักการดำเนินงานออกแบบ 3ส:3R

สาระจากสมาชิกหมู่บ้านพญาไทวิเลจ  บ้านเลขที่ 144/157 ครับ เป็นอาจารย์สอนศิลปะและการออกแบบ ได้ทำ Prachid Tutorials : Design Direction เอาไว้แบ่งปันแก่ลูกศิษย์และสังคม เป็นบันทึกการสอนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ เรื่อง แนวทางการดำเนินการออกแบบตามแนวทาง 3ส:3R (Research,Resume and Results) ภาคเรียนที่1/2554 โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. เวลา 49 นาที ลองฟังดูครับเผื่อได้สาระจากบันทึกการสอนนี้บ้าง
Prachid Tutorials : Design Direction บันทึกการสอนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ เรื่อง แนวทางการดำเนินการออกแบบตามแนวทาง 3ส:3R (Research,Resume and Results) ภาคเรียนที่1/2554 สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. เวลา 49 นาที

Sunday, December 18, 2011

งานทำบุณตักบาตรหมู่บ้านพญาไทวิเลจประจำปี 2554

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม 2554 เวลา 6.30น.-11.00 น ชาวพญาไทวิเลจได้ร่วมกันทำบุณตักบาตรเช้าพระสงฆ์จำนวน 30 รูป และเลี้ยงภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์จำนวน 9 รูป ตามประเพณีเนื่องในวันจะขึ้นปีใหม่ 2555 โดยมีสมาชิกชาวพญาไทมาร่วมกันทำกิจกรรมนี้อย่างทั่วหน้า มีผู้ร่วมทำบุณและช่วยงานหมู้บ้านมากมาย อาทิ ท่าน สจ.ทองใบ และท่านนายกเทศมนตรีนครปากเกร็ด นายวิชัย บรรดาศักดิ์ ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมเยือนและทำบุณร่วมกับชาวหมู่บ้านเราอย่างเป็นกันเอง Happy New Year 2555 อย่างทั่วหน้ากันนะครับผม ใครเป็นใครคลิกดูภาพในสไลด์แล้วกันนะครับ ผลการสรรหาประธานหมู่บ้านคนใหม่โดยวิธีการเสนอชื่อนั้น ผู้ที่ถูกเสนอชื่อมากที่สุดสามสิบกว่าเสียงก็คือคุณไชยวัฒน์ SB Furniture ครับ สำหรับกรรมการชุดเก่าจะหมดวาระสิ้นปี 2554 นี้


Friday, November 11, 2011

ปากเกร็ดโมเดล ทำให้ พญาไทวิิลเลจ ซอยวัดกู้ รอดจากมหาอุทกภัย 2554


ข่าวคราวเรื่อง อำเภอปากเกร็ด รอดพ้นจากน้ำท่วมใหญ่ มหาอุทกภัย 2554     และแล้วความเสี่ยงต่อน้ำท่วมของเราชาวซอยวัดกู้ ก็ค่อยคลี่คลายไปได้ด้วยดี รอดพ้นไปได้ก็กลายเป็นข่าวใหญ่ ที่ทุกคนชาวพญาไทวิลเลจ คงทราบกันดีว่า ญาติใครๆก็โทรมาถามกันใหญ่หลังจากได้ดูข่าวจากทีวีกันว่า "รอดได้ไง" "ทำไมยังไม่ท่วมวะ" ..... มากมาย โดยเฉพาะเริ่มมีสโลแกน เกิดขึ้นตามมาทันทีว่า ปากเกร็ดโมเดล ลองอ่านต่อจากข่าวของกรุงเทพธุรกิจต่อเอาเองนะครับ

ปากเกร็ด.. เอาอยู่ นายกเทศมนตรีวิชัย บรรดาศักดิ์ เป็นข่าวทั่วไทย
ก่อนจะช่วยไขความกระจ่างเบื้องหลังปฏิบัติการณ์หักปากกาเซียนของชาวปากเกร็ดครั้งนี้ คีย์แมนคนสำคัญอย่างนายกเทศมนตรีนครปากเกร็ด วิชัย บรรดาศักดิ์ ซึ่งทุกวันนี้แทบจะกินนอนอยู่ที่เทศบาล ขอออกตัวว่า สถานการณ์ของปากเกร็ดยังไม่ถือว่า "รอด" แต่ยังต้องเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง

แม้จะตอบคำถามสื่อไปหลายสำนักแล้วว่า เทศบาลนครปากเกร็ด ได้เตรียมรับมือกับอุทกภัยล่วงหน้านาน 2 เดือน แต่ความจริงแล้ว นับตั้งแต่เขาได้เข้ามาบริหารงานเทศบาลเมื่อปี พ.ศ. 2535 แผนการสร้าง "เมืองป้องกันน้ำท่วม" ก็ถูกหอบติดมาด้วย

เริ่มจากสร้างถนนซอยวัดกู้ ที่ความสูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วมปากเกร็ดเมื่อปี 2526 พร้อมกับวางระบบฝังท่อระบายน้ำเสร็จสรรพ หลังเห็นปัญหาว่าถนนส่วนใหญ่ที่มีอยู่เดิม ไม่ได้ฝังท่อระบายน้ำลงไป แต่เลือกทำคูเล็กๆ เพื่อระบายน้ำแทน แต่เมื่อเมืองขยาย ก็ทำให้คูคลองระบายน้ำถูกปิดบัง ทับถมไปหลายจุด จนระบายน้ำไม่สะดวกเหมือนก่อน
อย่าว่าแต่ถนนรุ่นเก่าอย่าง "ติวานนท์" ซึ่งไม่มีท่อระบายน้ำเลย แม้แต่ถนนรุ่นกลางอย่าง "แจ้งวัฒนะ" ก็ยังมีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ เพราะถึงจะมีร่องระบายน้ำประมาณเมตรเศษ แต่ก็เต็มไปด้วยเส้นสายระโยงระยางของระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา เทเลคอม ฯลฯ ที่ถูกใส่ลงไปในภายหลัง ทำเอาขวางทางน้ำเสียเกือบหมด

"อย่าไปรอน้ำท่วม เอาแค่ฝนตกมาเนี่ย ยังระบายไม่ออกเลย" วิชัย เอ่ย
ผลจากการสร้างถนนสูง ชาวบ้านจึงพากันคัดค้าน ว่าขึ้นลงบ้านลำบาก แต่เมื่อปากเกร็ดต้องมาเจอกับมวลน้ำประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ.2538 แม้ขณะนั้นถนนจะยังสร้างไม่เสร็จ แต่ส่วนที่เรียบร้อยไปแล้ว ก็ช่วยทำหน้าที่เป็นคันกั้นน้ำให้กับชาวบ้านได้ เมื่อบวกเข้ากับการทำแนวกั้นน้ำต่อเนื่องไป ก็ช่วยให้ปากเกร็ดฝ่าวิกฤติปี 2538 ไปได้แบบท่วมบ้าง แห้งบ้าง แต่ในภาพรวมแล้ว ถือว่าไอเดียนี้ "สอบผ่าน"
โจทย์ต่อมาสำหรับ นายกฯ วิชัย จึงมีอยู่ว่า จะทำอย่างไรให้พื้นที่ที่เคยท่วม ไม่ต้องท่วมในครั้งต่อๆ ไป

..แผน "พนังกั้นน้ำ 100 ปี" จึงเกิดขึ้น บนสมมติฐานที่ว่า ถนนจะทรุดลงราว 5-10 เซนติเมตรทุกปี ฉะนั้นเทศบาลจึงพยายามแนวป้องกันหลังบ้านริมน้ำให้ได้ โดยจะสร้างถนนสูงหลังบ้านของชาวบ้านให้ชิดกับเจ้าพระยาให้มากที่สุด
สำหรับการเตรียมตัวป้องกันอุทกภัยปี 2554 นี้ เริ่มต้นขึ้นจากข้อสังเกตของปริมาณน้ำที่ระบายออกจากเขื่อน รวมทั้งทางน้ำ"ถ้าปกติน้ำจะไหล 2,000 กว่าลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ถ้าถึง 3,900 นี่เริ่มวิกฤติแล้ว ต้องรีบเสริมคันแล้ว" นายกเทศมนตรีนครปากเกร็ดเล่า ก่อนที่ ไพศาล หอมเกตุ หัวหน้างานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลนครปากเกร็ด จะช่วยเสริมถึงแผนการป้องกันที่วางไว้สองแผนด้วยกัน

"แผนแรก" คือ เรียงกระสอบทรายหลายแสนลูก และก่อคันดิน ตลอดความยาวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ราว 8 กิโลเมตร และคอยเสริมความสูงอยู่ตลอดทุกครั้งที่ระดับน้ำขยับขึ้น อย่างต่ำ 10 เซนติเมตร

แม้แผนแรกจะดำเนินไปด้วยดี แต่ด้วยแรงกดดันของมวลน้ำ ซึ่งมุดใต้ดินออกไประเบิดขึ้นในแนวคันกั้นน้ำ อย่างเช่นที่เกิดกับ วัดกลางเกร็ด

นั่นจึงถึงเวลาของ "แผนสอง" สำหรับเหตุการณ์น้ำทะลัก ที่จะต้องรักษาพื้นที่ชั้นในไว้ให้ได้ ด้วยการจำยอมให้มีพื้นที่เปียกอยู่บ้าง

     ในภายหลัง จึงเริ่มปรับแผน ปล่อยน้ำเข้าในพื้นที่บ้างเล็กน้อย เพื่อลดแรงกดดันของน้ำลง ซึ่งก็ได้ผลพอสมควร
     นอกจากนี้ ยังมีภูมิปัญญาจากชาวบ้านที่อยู่กับน้ำมาตลอด ตั้งแต่การเรียงกระสอบทราย การทำคันดินที่ต้องทำฐานให้กว้าง เสริมความแข็งแรงของฐานด้วยเสาเข็ม หมั่นเสริมคันไม่ให้ดินยุบ หรือถ้าปล่อยให้ดินแห้งเกินไปก็จะแตกได้ และต้องเสริมคันดินทุกๆ 2 วัน ไม่ว่าน้ำจะขึ้นหรือลง

"เรายังต้องบริหารน้ำด้วย อย่างคลองประปาปล่อยมา มีคลองบ้านใหม่ ลอดมาอีกคลอง บางทีก็ดันน้ำจากหลัก 6 เข้ามาพรวดเลย เราก็ต้องไปล็อกตรงนั้น ประตูก็ไม่มี แล้วตรงคลองบางพูดก็ไม่มี คลองบางตลาดก็ไม่มี เรามีคลองส่วยล็อกไว้อีกทีหนึ่ง พอน้ำเข้ามาก็ให้ลงคลองส่วย รีบดึงน้ำจากคลองส่วยผันออกไป มันก็วนกันอยู่อย่างนี้ ไม่อย่างนั้นน้ำจะเข้ามาเต็ม" นายกฯ วิชัย ยกตัวอย่าง

งบประมาณกว่า 100 ล้านแลกกับแนวคันดินสูง 3 เมตร ความยาว 50 กิโลเมตร พร้อมแผนงานที่เป็นระบบและรัดกุม ทำให้ปากเกร็ดยัง "รอด" และ "แห้ง" อยู่

"ถ้าเอาไม่อยู่ก็หมดไปเลยทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำมาล่ะครับ" เขายอมรับ
ถ้อยที มีน้ำใจ


พร้อมๆ กับการมุ่งป้องกันไม่ให้น้ำเข้าสู่พื้นที่ชั้นใน เทศบาลก็ต้องดำเนินแผนการเยียวยาพื้นที่รับน้ำไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้ชาวบ้านสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ไม่ติดขัด
อย่าง ชาวชุมชนปากเกร็ดฯ 3 ที่ร้องขอแผ่นไม้มาทำสะพานทางเดิน ก็ได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากเทศบาล จนวันนี้ สุเทพ บอกว่า มีทางเดินไปถึงหน้าบ้านของชาวบ้านเกือบครบทั้งพื้นที่แล้ว
"เราพยายามทำความเข้าใจพี่น้องริมน้ำ แต่เราก็ต้องพยายามช่วยเหลือเขาให้เต็มที่ ต้องการอะไรต้องหาให้ได้ คนข้างในมาเยียวยาคนข้างนอก ไม่ให้เกิดความเครียด ต้องการอะไรก็ให้หมด ไม่มีบริจาคก็ตั้งงบซื้อให้" หรือในส่วนของภาคเอกชนเอง ก็รับรู้ความยากลำบากของบ้านที่ต้องจมน้ำ โดยพยายามเข้ามาช่วยเหลือ ทั้งส่งข้าวส่งน้ำ กระทั่งเข้ามาช่วยเหลือตามแต่ชาวบ้านจะร้องขอ แต่การเดินแนวทางการทำงานด้วย "หัวใจ" ทำให้บางครั้ง การปฏิบัติงานของเทศบาลมีอาการขลุกขลักอยู่บ้าง ไม่ใช่ว่า คันดินทุกที่จะได้รับการดูแลหรือรับประกันความปลอดภัยจากชาวบ้านเสมอไป
"บางที ชาวบ้านมาพังคันดิน ลูกน้องก็มาบอกผม ว่าไม่ไหวแล้ว พอซ่อมก็มาพังอีก ผมก็บอกใจเย็นๆ ก่อน ปล่อยเขาไป ถ้าเขาอยากรื้อก็ปล่อยไปก่อน ปรากฏว่า รื้อได้ไม่ทันไร โทรมาหาเทศบาลเองเลย บอกว่ามาอุดให้หน่อย เพราะน้ำมันไหลแรง จนบ้านสั่น" นายกฯ วิชัย เล่าขำๆ เพื่อยืนยันว่า ยอมๆ ไปบ้าง ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันไป คือ วิธีการที่น่าจะเหมาะสมสำหรับจัดการมวลชนยามนี้

ทั้งหมด ถือเป็น "สูตรสำเร็จ" ของปากเกร็ดโมเดล

อ้างอิงข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ 11/11/2554

Tuesday, November 1, 2011

ประชุมสมาชิกชาวพญาไทวิลเลจช่วงวิกฤตน้ำทะเลหนุนสูง 30-10-54

ประชุมสมาชิกชาวพญาไทวิลเลจช่วงวิกฤตน้ำทะเลหนุนสูง 30-10-54 มีมติควรต้องอนุมัติค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้ทีมงานเฝ้าระวังรักษาหมู่บ้าน กระทั่งถึงประมาณวันที่ 10 พ.ย.นี้ก่อน

Sunday, October 30, 2011

ชาวพญาไทร่วมระดมทุนปกป้องหมู่บ้านอีกระลอก ช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2554

ชาวพญาไทวิลเลจ ร่วมกันระดมทุนปกป้องหมู่บ้านอีกระลอก โดยขอบริจาคหลังละพันห้า เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการสูบน้ำ ค่าวัสดุกั้นน้ำ ค่าแรงงานและเครื่องจักรทำงาน การจัดการขยะและอื่นๆ ทำให้ทุกคนที่อยู่หรือไปอยู่ที่อื่นช่วงนี้ได้อุ่นใจขึ้น ท่านใดที่ยังไม่ได้บริจาคเพื่อส่วนรวม ก็ขอเชิญที่สโมสรนะครับ

Saturday, October 22, 2011

ประชุมสมาชิกหมู่บ้านเพื่อเตรียมต้านรับมวลน้ำก้อนใหญ่ 22-10-2554



ประชุมสมาชิกหมู่บ้านเพื่อเตรียมต้านรับมวลน้ำก้อนใหญ่ที่จะเข้ามาถึงในวันที่ 23 ตุลาคมนี้ สรุปผลการประชุมก็คือช่วยกันลงขันอีกหลังละ 1,500 บาท หลังประชุมเสร็จราว 5 ทุ่ม ก็ได้เรื่องพอดี มีน้ำทะลักเข้าด่านหน้าหมู่บ้าน คือเขื่อนทรายในบ้านเจ้าพระยาพังลงมา ทำให้นำ้ำทะลักเข้ามาในถนนหน้าหมู่บ้าน ราว 5 นาทีน้ำนองเต็มถนน แต่ทัพหน้าของหมู่บ้านเราก็นำทรายไปอุดช่วยเทศบาล และทำให้กันน้ำเอาไว้ได้ในวันนี้ รอด ไปอีกหนึ่งวัน...รอลุ้นต่อ


Thursday, October 20, 2011

สภาพน้ำท่วมถนนสุขาประชาสรรค์ 2 (ซอยวัดกู้ ) 20-10-2554



สภาพน้ำท่วมถนนสุขาประชาสรรค์ 2 (ซอยวัดกู้ )วันที่ 20-10-2554 ยังเหนียวแต่น้ำเริ่มมา ท่วมหมู่บ้านริมแม่น้ำฝั่งตรงกันข้ามมีน้ำปล่อยล้นออกมา วัดบางพูดนอกท่วมไปแล้วครับ เต็มๆ กลางซอยและหน้าวัดกู้เริ่มเอ่อล้นถนน และเวลา่นี้ห้ามรถใหญ่เข้าทางด้านหัวซอยตลาด

รวมภาพน้ำท่วม2011 ภาพมุมสูงน้ำท่วมนวนคร - ดูวิดีโอทั้งหมด กดที่นี่

Wednesday, October 19, 2011

Pakkret Mega Flood @ 19-10-54

ปากเกร็ดวันนี้ 19-10-2554 สะพานพระราม 4 กลายเป็นที่จอดรถของมวลชน

ชวาพญาไทสู้ภัยน้ำท่วม ตุลา ปี 2554 วันที่ 15-18 ตุลาคม 2554

กิจกรรมช่วง 15-18 สูบน้าออกจากท่อรอไว้ และขยะเริ่มเป็นปัญหา ต้องช่วยกันสร้างธนาคารที่หน้าหมู่บ้าน สมาชิกที่ทำงาน กทม.ก็นำรถขยะมาร่วมด้วยช่วยกัน ช่วยอำนวยความสะดวกให้เทศบาลที่มีจำนวนเที่ยวขนขยะลดลง

Friday, October 14, 2011

ชาวพญาไทวิจเลจ ร่วมเตรียมป้องกันน้ำ ครั้งที่3 วันที่ 14-10-2554

ชาวพญาไทวิจเลจ ได้ร่วมกันเตรียมป้องกันน้ำ ครั้งที่3 วันที่ 14-10-2554 เวลา 11-13.00 น.หลังทราบข่าวน้ำล้นเขื่อนดินบริเวณหน้าโรงงาน SB Furniture หน้าวัดบางพูดใน ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันกรอกถุงทรายอย่างดีเช่นเคยนับแต่วันที่ 10 เป็นต้นมา

Thursday, October 13, 2011

ภาพถ่ายจากดาวเทียม เตือนแนวน้ำท่วมเขตปากเกร็ด วันที่ 13-10-2554

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงการคาดการณ์ภาวะน้ำท่วมถึงจาก http://flood.gistda.or.th/.เมื่อเวลา 16.05 น.วันที่ 13 ตุลา เตือนชาวปากเกร็ดให้ระวังน้ำท่วม เขตสีแดงคือพื้นที่อำเภอปากเกร็ดทั้งหมด คาดลามไปถึงเมืองทองธานี ขอให้ทุกท่านเฝ้าระวังช่วยกันนะครับ
ภาพเมื่ิอ 14-10-2554 เวลา 11.58 น.

Wednesday, October 12, 2011

วันพุธที่ 12-10-2554 ชาวพญาไทวิลเลจเตรียมพร้อมสู้น้ำท่วม


ในวันพุธที่ 12-10-2554 ชาวหมู่บ้านพญาไทวิลเลจบางส่วนที่อยู่บ้าน ปิดเทอม ได้ร่วมแรงร่วมใจกันมาเตรียมพร้อมสู้น้ำท่วมใหญ่ที่อาจจะมาถึง สร้างแนวป้องกันด้วยถุงทรายเตรียมไว้ก่อน เพื่อให้เพือนพี่น้องที่ไปทำงานได้กลับเข้าบ้านอย่างอบอุ่นใจ

ระดับน้ำ ถ่ายทอดสดจากกล้อง CCTV สถานีปากเกร็ด


ดูระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ถ่ายทอดสดจากกล้อง CCTV ประจำสถานีปากเกร็ด สถานีตรวจสถานการณ์น้ำ ของกรมชลประทาน จังหวัดนนทบุรี

Monday, October 10, 2011

คาดการณ์แนวเส้นทางน้ำท่วม ช่วงเดือนตุลาคม 2554

คาดการณ์แนวเส้นทางน้ำท่วมช่วง 6-10 ตุลาคม 2554 พญาไทยังไม่ถึงขั้นวิกฤตลองเทียบดูกับแผนที่จากโพสต์ด้านล่างอีกครั้งเพื่อความไม่ประมาท ภาพนี้เป็นการเขียนแนวจากภาพถ่ายทางดาวเทียมจากกูเกิ้ลเอิร์ท หรือ GoogleMap ที่ทาง เว็บไซต์ http://flood.gistda.or.th/ เขาติดตามและรายงานสถานการณ์ภาวะนำ้าท่วมอยู่ในขณะนี้ ลองคลิกเข้าใช้งานดูนะครับ

Sunday, October 9, 2011

ชาวพญาไทวิลเลจ ร่วมมือร่วมใจกันป้องกันน้ำท่วมปี 2554

Phayathai Village Anti-flood Act : ชาวพญาไทวิลเลจ ร่วมมือร่วมใจกันป้องกันน้ำท่วม ร่วมบริจาคและร่วมแรงกันอย่างแข็งขัน เตรียมพร้อมรับสถานการณ์โดยไม่ประมาท ในวันที่ 9/10/2554 โดยตั้งศูนย์เตือนภัยฯ ณ หน้าสโมสรของหมู่บ้าน

การประชุมสมาชิกหมู่บ้านพญาไทวิลเลจ

การประชุมสมาชิกหมู่บ้านพญาไทวิลเลจเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลประจำหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2554 โดยได้รับความร่วมมือจากมวลสมาชิกมาร่วมประชุมกันไม่น้อยกว่า 90% ท่ามกลางสายฝนที่โปรยปรายมาเป็นพยานแห่งความร่มเย็น โดยมีมิติเป็นเอกฉันท์และเริ่มดำเนินกาีรตามกฏหมาย

แผนที่หมู่บ้านพญาไทวิลเลจ Phayathai Village's Map

แผนที่หมู่บ้านพญาไทวิลเลจ Phayathai Village's Map
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

ภาพกิจกรรมของหมู่บ้าน

ภาพกิจกรรมของหมู่บ้าน พญาไทวิลเลจ การประชุมจัดตั้งนิติบุคคล 31/7/2554

ยินดีต้อนรับสมาชิกชาวหมู่บ้านพญาไทวิเลจทุกท่าน

เว็บบล็อกเพื่อการสื่อสาร การแบ่งปัน การสร้างสรรค์ สายใยชุมชนเข้มแข็งร่วมกัน ของชาวพญาไทวิจเลจ หมู่ 1. ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...